การเช็ค Check Code ABS
ระบบเบรก ABS เป็นการผสมผสานระหว่างระบบกลไก
และระบบอิเล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่คือ ป้องกันล้อล็อกเมื่อต้องเบรกกะทันหัน
ควบคุมพวงมาลัยให้ไปตามทิศทางที่ต้องการได้ง่าย
เมื่อไฟเตือน ABS ขึ้นโชว์
แสดงให้เห็นว่าเกิดมีปัญหาในระบบเบรก ให้รีบทำการแก้ไข
โดยระบบจะสามารถบอกเราได้ว่าเป็นอะไร โดยการ Check Code ABS
ทำให้แก้ไขปัญหาได้ถูกจุดที่เสีย โดยมีส่วนประกอบของดังนี้
ABS
Warning Light (ไฟเตือนหน้าปัดรถยนต์)
ABS
Actuator (ชุดปั๊ม, โซลีนอย์ควบคุมแรงดันเบรกซึ่งมีวาวล์
2 ส่วนต่อล้อ คือ Holding แรงดันหลัก และ Reduction แรงดันที่ปรับลดลง)
ABS
Relay (รีเลย์ ABS ภายในกล่องฟิวล์
และบางครั้งพบฟิวล์ ABS อยู่ด้านข้าง)
ABS
ECU (เป็นกล่องควบคุมการทำงานทั้งหมดของ ABS ส่วนใหญ่ติดอยู่กับ
ABS Actuator)
Front
Speed Sensors (เซ็นเซอร์วัดความเร็วล้อหน้า มีอยู่ที่ล้อ
ซ้ายและขวา)
Rear
Speed Sensors (เซ็นเซอร์วัดความเร็วล้อหลัง มีอยู่ที่ล้อ
ซ้ายและขวา)
การทำสายจั๊ม
SST
1. หลอดไฟ LED สีแดงธรรมดาที่หาได้ทั่วไป (หลอดละ2-3 บาท)
2. ตัวต้านทานประมาณ 660 โอห์ม
3. สายไฟเส้นเล็กๆสองเส้น ถ้าหาสีแดงดำได้ก็ดี
I. การตรวจสอบอาการ ABS
1. ทำการเปิดฝากระโปรงรถ
หากล่องเล็ก ๆ ที่เขียนว่า DIAGNOSIS โดยกล่องจะอยู่ใกล้ ๆ
กับกรองอากาศ
2. เปิดฝากล่อง DIAGNOSIS เสียบปลายสายไฟลงที่ขั้ว Tc
กับ E1 และดึงแผ่นเหล็กเล็ก ๆ ที่เสียบที่ขั้ว
Wa กับ Wb ออก
3.
ทำการบิดกุญแจไปที่ตำแหน่ง ON ***ไม่ต้อง
สตาร์ทเครื่อง ถ้าเป็นเกียร์อัตโนมัติ ต้องกด Overdrive เป็น
On (ไฟดับ) ***
4. สังเกตการกระพริบของไฟ ABS ในรถยนต์จะกระพริบเป็นแบบจังหวะ
จดบันทึกรหัสอาการเสียไว้ เพื่อแก้ไขปัญหา
-
กรณีมีอาการเดียว เช่น รหัส 12 คือ ไฟกระพริบ 1 ครั้ง เว้น 1.5 วิ
กระพริบ 2 ครั้ง เว้น 2.5 วิ กระพริบ 1
ครั้ง เว้น 1.5 วิ กระพริบ 2 ครั้ง
เว้น 2.5 วิ จะเป็นอย่างนี้ต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ (1-11---1-11---1-11---...)
- กรณีมีหลายอาการ
2 code ขึ้นไป เช่น 14, 16 หมายถึง
กระพริบ 1 ครั้ง เว้น 1.5 วิ กระพริบ 4 ครั้ง เว้น 2.5 วิ กระพริบ 1
ครั้ง เว้น 1.5 วิ กระพริบ 6 ครั้ง
เว้น 4 วิ กระพริบ 1 ครั้ง เว้น 1.5 วิ
กระพริบ 4 ครั้ง จะเป็นอย่างนี้วนไปเรื่อยๆ (1-1111--1-111111---1-1111--1-111111---...)
5.
ทำการบิดกุญแจไปที่ตำแหน่ง OFF แล้วดึงสายเสียบจั๊มพ์ขั้วออก
และเอาแผ่นเหล็กเล็ก ๆ ที่เสียบคืนที่ขั้ว Wa กับ Wb เหมือนเดิม
II. การอ่านโค๊ดอาการ TOYOTA ABS CODES
CODE
11: Open circuit in ABS control (Solenoid) relay circuit.
วงจรควบคุม
ABS โซลีนอย เกิดการขาดของวงจร
CODE
12: Short circuit in ABS control (Solenoid) relay circuit.
วงจรควบคุม
ABS โซลีนอย เกิดการช๊อต
CODE
13: Open circuit in ABS control (Pump motor)
relay circuit.
วงจรควบคุมมอเตอร์ปั๊ม
ABS เกิดการขาดวงจร
CODE
14: Short circuit in ABS control (Pump motor)
relay circuit.
วงจรควบคุมมอเตอร์ปั๊ม
ABS เกิดการช๊อต
CODE 21: Open or short in ABS
solenoid for right front wheel.
โชลีนอย
ABS ที่ควบคุมล้อหน้าด้านขวา เกิดการช๊อตหรือวงจรเกิดขาด
CODE
22: Open or short in ABS solenoid for left front wheel.
โชลีนอย
ABS ที่ควบคุมล้อหน้าด้านซ้าย เกิดการช๊อตหรือวงจรเกิดขาด
CODE
23: Open or short in ABS solenoid for right rear wheel.
โชลีนอย
ABS ที่ควบคุมล้อหลังด้านขวา เกิดการช๊อตหรือวงจรเกิดขาด
CODE
24: Open or short in ABS solenoid for left rear wheel.
โชลีนอย
ABS ที่ควบคุมล้อหลังด้านซ้าย เกิดการช๊อตหรือวงจรเกิดขาด
CODE
31: Signal right front wheel speed sensor circuit.
สัญญาณจาก
ล้อหน้าด้านขวา ไม่ครบวงจร อาจเกิดจากสายไฟขาด หรือ เซ็นเซอร์สกปรก
หรือเสีย
CODE
32: Signal left front wheel speed sensor circuit.
สัญญาณจาก
ล้อหน้าด้านซ้าย ไม่ครบวงจร อาจเกิดจากสายไฟขาด หรือ เซ็นเซอร์สกปรก
หรือเสีย
CODE
33: Signal right rear wheel speed sensor circuit.
สัญญาณจาก
ล้อหลังด้านขวา ไม่ครบวงจร อาจเกิดจากสายไฟขาด หรือ เซ็นเซอร์สกปรก
หรือเสีย
CODE
34: Signal left rear wheel speed sensor circuit.
สัญญาณจาก
ล้อหลังด้านซ้าย ไม่ครบวงจร อาจเกิดจากสายไฟขาด หรือ เซ็นเซอร์สกปรก
หรือเสีย
*** ปกติจะสามารถวัดค่าจากสายสัญญาณก่อนถึงล้อ
ได้ที่ 0.5 ถึง 2.5 โวลต์ ***
CODE
35: Open in left front or right rear wheel speed sensor (WSS) circuit.
Speed
sensor ที่ล้อหน้าซ้ายหรือหลังขวา เกิดอาการขาด
36 —
Open in right front or left rear WSS circuit.
Speed
sensor ที่ล้อหน้าซ้ายหรือหลังขวา เกิดอาการขาด
*** ปกติจะสามารถวัดค่าจากสายสัญญาณก่อนถึงล้อ
ได้ที่ 1000 ถึง 1800 โอห์ม ***
CODE
37: Faulty rear speed sensor rotor.
เฟืองหมุน
ล้อหลัง เสียหายจากการหัก หรืองอ
CODE
41: Battery voltage too low or high (under 9.5 volts or over 16.2 volts).
แบตเตอร์รี่มี
ค่าโวลต์ ต่ำหรือสูงกว่าปกติ คือต่ำกว่า 9.5 โวลต์ หรือสูงกว่า 16.2
โวลต์ ควรแก้ไขแบตเตอร์รี่หรือไดชาร์จที่มีปัญหา
CODE
51: Pump motor is locked or pump motor circuit is open.
มอเตอร์ปั๊มค้าง
หรือ วงจรมอเตอร์ปั๊มขาด
CODE
71: Low output voltage of right front speed sensor
ค่าโวลต์ที่ออกมาจาก
เซ็นเซอร์ล้อหน้าด้านขวา น้อยกว่าปกติ น่าจะเกิดจากเซ็นเซอร์เสื่อมสภาพ
CODE
72: Low output voltage of left front speed sensor
ค่าโวลต์ที่ออกมาจาก
เซ็นเซอร์ล้อหน้าด้านซ้าย น้อยกว่าปกติ น่าจะเกิดจากเซ็นเซอร์เสื่อมสภาพ
CODE
73: Low output voltage of right rear speed sensor
ค่าโวลต์ที่ออกมาจาก
เซ็นเซอร์ล้อหลังด้านขวา น้อยกว่าปกติ น่าจะเกิดจากเซ็นเซอร์เสื่อมสภาพ
CODE
74: Low output voltage of left rear speed sensor
ค่าโวลต์ที่ออกมาจาก
เซ็นเซอร์ล้อหลังด้านซ้าย น้อยกว่าปกติ น่าจะเกิดจากเซ็นเซอร์เสื่อมสภาพ
CODE
75: Rotor right front speed sensor
เฟืองล้อหน้าด้านขวา
ผิดปกติ
CODE
76: Rotor left front speed sensor
เฟืองล้อหน้าด้านซ้าย
ผิดปกติ
CODE
77: Rotor right rear speed sensor
เฟืองล้อหลังด้านขวา
ผิดปกติ
CODE
78: Rotor left rear speed sensor
เฟืองล้อหลังด้านซ้าย
ผิดปกติ
CODE Always on: ไฟเตือนออกตลอด
ECU ABS มีปัญหา
III. การลบโค๊ด TOYOTA ABS CODES
1. ทำการเปิดฝากระโปรงรถ
หากล่องเล็ก ๆ ที่เขียนว่า DIAGNOSIS โดยกล่องจะอยู่ใกล้ ๆ
กับกรองอากาศ
2. เปิดฝากล่อง DIAGNOSIS เสียบปลายสายไฟลงที่ขั้ว Tc
กับ E1 และดึงแผ่นเหล็กเล็ก ๆ ที่เสียบที่ขั้ว
Wa กับ Wb ออก
3.
ทำการบิดกุญแจไปที่ตำแหน่ง ON ***ไม่ต้อง สตาร์ทเครื่อง
ถ้าเป็นเกียร์อัตโนมัติ ต้องกด Overdrive เป็น On (ไฟดับ) ***
4.
เหยียบเบรก 8 ครั้งหรือมากกว่า ภายใน 3
วินาที
5.
ดูสัญญาณไฟเตือน ABS เป็นปกติคือกระพริบต่อเนื่อง
(- - - - - - - - - - - - )
6.
ทำการบิดกุญแจไปที่ตำแหน่ง OFF แล้วดึงสายเสียบจั๊มพ์ขั้วออก
และเอาแผ่นเหล็กเล็ก ๆ ที่เสียบคืนที่ขั้ว Wa กับ Wb เหมือนเดิม
*** พยายามหาข้อมูล แล้วแปล จากผิดบ้างถูกบ้าง อย่างไรขอคำแนะนำให้ด้วยนะครับ ***